ห้ามพลาด มาตรฐานสีกันไฟ ที่คุณต้องรู้ ก่อนนำไปใช้ !

หากพูดถึง สีในงานก่อสร้าง จะมีสีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น สีกันไฟ สีทาบ้าน สีเคลือบเงา สีแต่ละประเภทนั้น ต่างมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเฉพาะตัว สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสม ตามลักษณะงานได้เลย วันนี้ Bitec Enterprise จะพาคุณไปรู้จักกับ สีกันไฟ คืออะไร มาตรฐานสีกันไฟ ที่คุณต้องรู้ ก่อนนำไปใช้งาน

สีกันไฟ คืออะไร

มาตรฐานสีกันไฟ 1


สีกันไฟ หรือ สีกันไฟโครงสร้างเหล็ก
คือ สีที่ทนทานต่อความร้อนสูง เช่น เพลิงไหม้ อัคคีภัย ซึ่งสีกันไฟ ใช้สำหรับทาเคลือบ โครงสร้างเหล็ก หรือโครงสร้างอาคาร เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น สีกันไฟ จะช่วยยับยั้ง การแพร่กระจายความร้อน โดยสารเคมีในตัวสีกันไฟ จะเริ่มทำปฏิกิริยา และพองตัวขึ้นเป็นโฟมสุญญากาศ เคลือบไปที่ผิวโครงสร้างเหล็ก ทำให้ความร้อนของเปลวไฟ เคลื่อนตัวสู่โครงสร้างเหล็กช้าลง ทำให้โครงสร้างเหล็กคงรูปอยู่ได้นานขึ้น ไม่พังลงมา ชะลอเวลาให้อพยพออกจากอาคารเมื่อเกิดเพลิงไหม้ได้

 

นอกจากนี้ การใช้สีกันไฟยังต้องมี มาตรฐานสีกันไฟ ที่มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 และ 60 ตามกฎหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ให้มีวิศวกร ประเภท วุฒิวิศวกรรับรองอัตราการทนไฟและภาคีวิศวกร เพื่อควบคุมดูแล และเป็นที่ปรึกษาโครงการ ทั้งในเรื่อง คุณภาพ ความมั่นคง ควบคุมการทำงาน  อยู่ภายใต้ความปลอดภัย ให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานอีกด้วย


สีกันไฟ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • สีกันไฟสูตรน้ำมัน (Solvent base) ใช้สำหรับภายในอาคาร เป็นสีกันไฟที่ใช้ Thinner เป็นตัวทำละลายทำให้สีแห้งไว เหมาะสำหรับอาคารที่มีโครงสร้างเหล็กเหล็กทุกประเภท
  • สีกันไฟสูตรน้ำ (Water Base) ใช้สำหรับภายในอาคาร เป็นสีกันไฟที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ทำให้มีค่า VOC ของสารระเหยต่ำ เหมาะกับโครงสร้างเหล็กอาคาร Green Building เหมาะสำหรับโครงสร้างอาคารขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่


ข้อดีของ สีกันไฟ

  • มี มาตรฐานสีกันไฟ และมีวุฒิวิศวกรรับรอง
  • เมื่อเกิดเพลิงไหม้ สีกันไฟ จะมีอัตราทนไฟ 1-3 ชม.
  • ช่วยชะลอ การทรุดตัวของโครงสร้างอาคาร ไม่ให้พังทลาย ขณะเกิดเพลิงไหม้ จึงมีเวลาอพยพคนไปสู่ในที่ ที่ปลอดภัย
  • เมื่อเกิดอัคคีภัย สีกันไฟโครงเหล็ก จะช่วยชะลอการลุกไหม้ จึงมีเวลาอพยพคนไปสู่ในที่ ที่ปลอดภัย
  • ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีความยืดหยุ่นสูง
  • ยกระดับความปลอดภัย ทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินน้อยลง

 

มาตรฐานสีกันไฟ สำคัญอย่างไร?

งานก่อสร้างทุกประเภท ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และให้ความสำคัญ ถึงการเลือกใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน เพราะเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย ที่เหนือการควบคุม สิ่งที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เริ่มต้น คือ การเลือกใช้วัสดุที่มีมาตรฐานรองรับ เพราะตามธรรมชาติของอัคคีภัย เราไม่สามารถคาดเดาได้เลย ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เป็นเหตุผลที่ว่า มาตรฐานสีกันไฟ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการเลือกวัสดุที่นำมาใช้เป็นสีกันไฟ


มาตรฐานสีกันไฟมีอะไรบ้าง ?

  • มาตรฐาน เอเอสทีเอ็ม อี 119 (ASTME 119) หรือ ISO 834 ตามพรบ.ควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง 
  • มาตรฐานว่าด้วยวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้านอัคคีภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง
    • มยผ.1333-61 มาตราฐานความคงทนของอาคารเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
    • มยผ.8212-52 มาตรฐานการทดสอบแรงยึดเหนี่ยววัสดุพ่นเคลือบผิวกันไฟ
    • มยผ.8101-52 ข้อกำหนดการควบคุม การใช้งานวัสดุภายในอาคาร
    • มยผ.8302-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างทนไฟ
    • มยผ.8303-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ป้องกันการลามไฟ

 

มาตรฐานสีกันไฟ 2


วิธีการตรวจสอบมาตรฐาน

  1. ใช้เหล็กโครงสร้าง ตาม Spec มาทดสอบ
  2. ทาสีกันไฟ ลงบนโครงเหล็ก ติดตั้งตัววัดอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 3 ตำแหน่ง
  3. นำโครงเหล็กที่ทาสีกันไฟ เข้าเตาเผา เพื่อทดสอบ
  4. สรุปผลการทดสอบ ในแต่ละความหนาฟิลม์ สามารถทนไฟเผาเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ ตั้งแต่ 1-3 ชม. โดยอุณหภูมิต้องไม่เกินที่ได้กำหนดไว้ในมาตรฐาน

เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สีกันไฟโครงสร้างเหล็กแต่ละประเภท จะได้ตรารองรับมาตรฐาน และได้รับอนุญาตสามารถนำไปใช้งานได้ ตามขั้นตอนของกฎกระทรวง ตามกฎหมาย


วิธีการดู มาตรฐานสีกันไฟ ?

ในทุกโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ ต้องผ่านกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อดูแลในเรื่องของความปลอดภัย พื้นที่บริเวณการก่อสร้าง ต้องติดประกาศให้เป็นเขตควบคุมอาคาร จะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และที่สำคัญต้องมีวุฒิวิศวกรรับรองควบคุมดูแลโครงการ


มาตรฐานสำหรับโครงสร้างหลักอาคาร
วัสดุป้องกันไฟโครงสร้างเหล็ก กฎกระทรวงฉบับที่ 60 กำหนดอัตราการทนไฟ ไว้ดังนี้

โครงสร้างหลักอาคาร ดังต่อต่อไปนี้

  • เป็นอาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด หรือ สถานพยาบาล
  • อาคารสำหรับใช้เพื่อกิจกรรมพาณิชกรรม การอุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข สำนักงาน หรือที่ทำการที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดเกิน 1000 ตารางเมตร
  • อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นหอประชุม

โครงสร้างอาคารข้างต้น ให้ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่มีลักษณะคุณสมบัติ ดังนี้ (กรณีโครงสร้างไม่มีคอนกรีตหุ้ม)

  • โครงสร้างหลักที่เป็นเสาหรือคาน ที่ก่อสร้างด้สนเหล็กโครงสร้างรูปพรรณต้องป้องกันเพื่อให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชม. และพื้นให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชม.
  • อาคารชั้นเดียว โครงหลักคาต้องมี่อัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชม.
  • อาคารสองชั้นขึ้นไป โครงหลังคาต้องมีอัตราทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชม.
  • โครงหลังคาของอาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังคาเดียวกันไม่เกิน 1000 ตารางเมตร และโครงหลังคาของอาคารที่อยู่สูงจากพื้นดินเกิน 8 เมตร

เพราะความปลอดภัย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สิ่งสำคัญ สีกันไฟโครงสร้างเหล็ก ทุกประเภท ควรมี มาตรฐานสีกันไฟ และผลการทดสอบรองรับ เช่น มาตรฐานไอเอสโอ 834 (ISO 834) ตามกฎกระทรวงอุตสาหกรรม และ มาตรฐานเอเอสทีเอ็ม อี 119 (ASTME 119) ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อความปลอดภัยทั้งปัจจุบันไปจนถึงอนาคตข้างหน้า

 

ปัจจุบันมีแบรนด์ สีกันไฟที่ผ่านการทดสอบรองรับ มาให้เลือกมากมาย เช่น FIREKOTES99,FIRECUT M-900, ISOLATEK WB3/WB4/WB5 การเลือกแบรนด์สีกันไฟนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม และตามมาตรฐานสากลที่รองรับ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ วุฒิวิศวกร ตลอดโครงการ และอยู่ภายใต้กฎกระทรวง ตามกฎหมาย

ติดต่อสอบถามข้อมูล และข้อสงสัยต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติมได้ที่นี่

Facebook: BITEC Enterprise Ltd.

E-mail: info@bitecenterprise.com

Line: @Bitecenterprise

Tel: 02-717-1155