ติดตั้งพื้น PU ในโรงงาน

ติดตั้งพื้น PU ในโรงงาน ช่วยให้โรงงานได้รับมาตรฐานใดบ้าง

แม้ว่าพื้นคอนกรีตธรรมดาสามารถรับน้ำหนัก และแรงกระแทกได้ แต่เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าว หรือ รอยเปื้อนจากสารเคมีต่างๆ เนื่องจากพื้นคอนกรีตดูดซับสิ่งสกปรก และสารเคมีได้ง่าย ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้มีการ ติดตั้งพื้น PU ขึ้น แล้ว พื้น PU มีคุณสมบัติอย่างไรทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเลือกใช้งาน?

ในบทความนี้ Bitec Enterprise จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับประเภทของพื้น PU และคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยม รวมถึงวิธีการติดตั้งที่คุณเองก็สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ สำหรับใครที่สนใจนำพื้นพียูไปใช้งานบอกเลยว่าห้ามพลาด!

 

พื้น PU มีกี่ประเภท

พื้น PU มีกี่ประเภท

อย่างที่รู้กันดีว่าพื้น PU เป็นสารเคลือบพื้น ที่เกิดจากการผสานจุดเด่นของคอนกรีตและสารโพลียูรีเทน (Polyurethane) ถูกออกแบบมาสำหรับปกป้องผิวคอนกรีตจากความชื้น กรด-ด่าง และสารเคมี ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน จึงทำให้มีการใช้งานหลากหลาย พื้นพียูสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทตามความหนาของฟิล์มสี ซึ่งแต่ละประเภทจะเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้

1. พื้นพียูแบบบาง PU-LF

เป็นพื้นที่มีความหนา 1.5-2 มม. ถึงแม้ว่าพื้นพียูประเภทนี้จะมีความหนาแน่นต่ำ แต่ยังคงรักษาคุณสมบัติทางเคมี เช่น ทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมี ตัวทำละลาย ทินเนอร์ และป้องกันความชื้นได้ดี ที่สำคัญมีราคาถูก เมื่อเทียบกับ พื้น PU ประเภทเดียวกัน เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา ห้องทดลอง และ ห้อง Clean Room นอกจากนี้ยังเหมาะกับพื้นที่รองรับการโหลดต่ำ เช่น งานรถแฮนด์ลิฟท์ หรือ รถลากพาเลทในคลังสินค้า เป็นต้น

2. พื้นพียูแบบปานกลาง PU-MF

พื้นพียูประเภทนี้มีความหนา 3-4 มม. เหมาะกับการใช้งานในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม Warehouse และ ศูนย์กระจายสินค้า สามารถใช้รับน้ำหนักปานกลางของรถโฟล์คลิฟท์ขนาดความจุ 2-4 ตัน นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Mechanic ด้วยการเพิ่มความหนาของพื้นให้มีความทนทานต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

3. พื้นพียูแบบหนามาก PU-HF

เป็นพื้นที่มีความหนา 5-10 มม. เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเคมี อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ลานโหลดสินค้า และ ศูนย์กระจายสินค้า สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก เหมาะกับการใช้งานของรถโฟล์คลิฟท์ที่มีขนาดความจุ 2-6 ตันขึ้นไป สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Mechanic ด้วยการเพิ่มความหนาของพื้น ทำให้ทนทานต่อรอยขีดข่วน รองรับแรงกระแทกได้ดี ที่สำคัญพื้นพียูประเภทนี้ยังมีอายุการใช้งานได้นานกว่า 5 ปี

 

ติดตั้งพื้น PU ได้มาตรฐานอะไร

ติดตั้งพื้น PU

พื้น PU หรือ Polyurethane Coating เป็นสีเคลือบพื้นผิวที่ผลิตจากวัสดุประเภท Water Base Polyurethane ได้รับความนิยมสำหรับการทำเป็นพื้นโรงอาหาร อุตสาหกรรมผลิตยาเวชกรรม และ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม เพราะได้รับการรองรับจากมาตรฐาน GMP และ HACCP  ในปัจจุบันอุตสาหกรรมด้าน Food & Brewery กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว พื้นพียูจึงกลายมาเป็นที่นิยมสำหรับอุตสาหกรรมในด้านนี้ ซึ่งคุณสมบัติของพื้นพียูประเภทนี้จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

  • ทนทานต่อรอยขีดข่วน
  • สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย
  • Anti-slip ในภาวะพื้นเปียก
  • ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
  • ทนทานต่อกรด-ด่าง และความชื้นสูง
  • มีประสิทธิภาพการใช้งานทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน
  • สามารถรับแรงกระแทกจากรถโฟล์คลิฟท์ได้ดี

และนี่คือคุณสมบัติของพื้น PU ที่ทำให้กลายเป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรมด้าน Food & Brewery นอกจากจะใช้งานกับพื้นผิวคอนกรีตแล้ว พื้นพียูยังสามารถใช้งานกับพื้นผิวประเภทไม้ หรือโลหะได้ เนื่องจากมีแรงยึดเกาะกับพื้นผิวประเภทอื่นๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

 

วิธีการ ติดตั้งพื้น PU

วิธีการ ติดตั้งพื้น PU

เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภท และคุณสมบัติพื้นพียูกันไปแล้ว ในหัวข้อนี้จะมาอธิบายถึงขั้นตอนการ ติดตั้งพื้น PU ที่ใช้สำหรับเคลือบผิวคอนกรีต ที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ห้องออฟฟิศ ห้องปฏิบัติการ ห้องอุตสาหกรรมที่เน้นความสะอาด อย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตยาและเวชกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมประเภทอาหาร เป็นต้น

1. ขั้นตอนแรกเป็นการเตรียมพื้นผิวด้วยการตรวจสอบพื้นคอนกรีต ว่าเกิดการแตกร้าวหรือแข็งแรงพอที่จะทำการติดตั้งหรือไม่ และตรวจสอบความชื้นด้วยการใช้เครื่องวัดความชื้น โดยค่าที่วัดไม่ควรเกิน 12% 

2. ใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ ตัดร่องบริเวณที่เป็นมุมฉาก-มุมเสา-มุมหักเห หรือ เป็นจุดสิ้นสุดของขอบคอนกรีต ให้ลึกประมาณ 5 มม. ขนาดร่องกว้าง 4 มม. เพื่อการยึดเกาะที่แข็งแรง 

3. สำรวจพื้นผิวที่มีส่วนเกินของกรอบผนังห้องหรือมุมห้องให้เรียบร้อย หากต้องการแก้ไขพื้นผิวต้องใช้เครื่องตีผิวหน้าคอนกรีตให้หยาบเพื่อการยึดเกาะที่ดี

4. ทำความสะอาดพื้นผิวคอนกรีตโดยใช้เครื่องดูดฝุ่น ทำความสะอาดฝุ่นละอองและฝุ่นแป้งที่เกาะอยู่บนพื้นผิวให้สะอาด จากนั้นติดกระดาษกาวกันเปื้อนตามขอบผนังหรือจุดที่สิ้นสุดของคอนกรีต เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วจะต้องทำการเคลือบชั้นรองพื้น (Scratch Coat) เพื่อซ่อมแซมคอนกรีตที่เป็นหลุมและปรับผิวหน้าให้เรียบ

5. ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการติดตั้ง วิธีการ คือ ผสม P1-2-3 ตามขั้นตอน แล้วนำไปเทตามหน้ากว้างของพื้นที่ไม่เกิน 10 ม. และปาดเพื่อปรับระดับความหนาตามที่ออกแบบไว้ประมาณ 3-8 มม. จากนั้นใช้เกรียงเหล็กปาดกลบรอยต่อที่ไม่เรียบเนียน แล้วใช้ลูกกลิ้งหนามเตยนวดไปมาเพื่อปรับหน้าผิวของวัสดุ

6. เมื่อทำการติดตั้งเคลือบวัสดุ PU และเก็บรอยต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ทำการดึงกระดาษกาวตรงที่เป็นขอบของพื้นที่ออกไป จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้พื้นแห้ง

 

การ ติดตั้งพื้น PU ดีอย่างไร?

การติดตั้งพื้นพียูเป็นที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร ที่เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมและชีส เนื่องจากมีความทนทานต่อกรด-ด่าง และสารเคมี นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับพื้นของสนามกีฬา และพื้นครัวได้

ที่สำคัญสามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ ด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปในท้องตลาด และมีอายุการใช้งานยาวนาน 10 ปี จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ามีคุณสมบัติมากมาย ที่ช่วยตอบโจทย์การใช้งานในระยะยาว จึงทำให้พื้นชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

 

 

สนใจติดตั้งพื้น PU แนะนำผู้เชี่ยวชาญ Bitec Enterprise

พื้นพียูแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ PU Coating และ พื้น PU Concrete หากต้องใช้งาน ควรเลือกประเภทตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพด้านการใช้งานสูงสุด สำหรับใครที่ต้องการติดตั้งพื้นพียู ขอแนะนำ Bitec Enterprise ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งพื้นพียู และวัสดุก่อสร้าง เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วเรายินดีให้คำปรึกษา ด้านการดูแลและการรักษาพื้นพียูให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูล และข้อสงสัยต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติมได้ที่นี่

Facebook: BITEC Enterprise Ltd.

E-mail: info@bitecenterprise.com

Line: @Bitecenterprise

Tel: 02-717-1155